วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยอยู่ (417 ปี)


การเก็บภาษีเริ่มเก็บในสมัย (สมเด็จพระเอกาทศรถ)

สิ่งของที่ราษฎรในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่งให้แก่ทางราชการเพื่อทดแทนที่ไม่เข้าเวรประจำการคือ (ส่วย)

ภาษีที่เก็บในสมัยพระนารายณ์มหาราช ทั้งทางบกและทางน้ำเรียกว่า (จังกอบ)

ผู้ได้รับสมญานามว่าราชาแห่งกาพย์โคลงเห่เรือ (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง))

ศรีปราชญ์มีความเชี่ยวชาญทางด้าน (โคลง)

พระพุทธบาทพบในสมัย (พระเจ้าทรงธรรม)

พระสุริโยทัยสวรรคตเนื่องจาก (พระนางไสช้างเข้าช่วยพระมหาจักรพรรดิ์ ถูกพระเจ้าแปรฟันขาดคอช้าง)

ภาษีที่เก็บจากการประกอบอาชีพในสมัยอยุธยาเรียกว่า (อากร)

เจดีย์ศรีสุริโยทัยตั้งอยู่ที่ (วัดสวนหลวงสบสวรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยา)

ขุนหลวงหาวัดคือ (สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร)

ขุนหลวงขี้เรื้อนคือ (สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หรือพระที่นั่งสุริยามรินทร์)

พระเจ้าช้างเผือกคือ (พระมหาจักรพรรดิ์)

นายทองด้วงเป็นชื่อเดิมของ (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)

ผู้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาจากเวียงจันทร์คือ (พระเจ้าตากสิน)

พระราชบัญญัติประถมศึกษาเริ่มใช้ในสมัย (พระมงกุฎเกล้เจ้าอยู่หัว)

ธนาคารแห่งแรกของประเทศไทยชื่อว่า (แบงก์สยามกัมมาจล ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงตั้งอะไรเพื่อการทดลองการปฏิบัติราชการแบบราชการ (ดุสิตธานี)

นามปากกาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมี (อัศวพาหุ ,รามจิตต,พันแหลม,น้อยลา,สุครีพ
นายแก้ว – นายขวัญ, พระขรรค์เเพชร,ศรีอยุธยา และไก่เขียว)

โรงเรียนมหาดเล็ก ปัจจุบันชื่อ (โรงเรียนวชิรวุธวิทยาลัย)

พระพุทธรูปที่เป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 6 (พระร่วงโรจนฤทธิ์)

โรลัง ยัคมินส์ เป็นใคร เกี่ยวข้องกับประเทศไทยคือ (เป็นชาวเบลเยี่ยมเข้ามารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลัง
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาอภัยราชา)

ทางรถไฟสายแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 คือสาย (สายกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ)

” สภาอุณาโลมแดง ” ปัจจุบันคือ (สภากาชาดไทย)

บริษัทเดนมาร์ค บริษัทแรกที่เข้ามาตั้งในไทยคือ (บริษัท อีสต์เอเชียติค)

พระอาจารย์สอนภาษาอังกฤษแก่รัชกาลที่ 5 คือ (แหม่มแอนนา เลียวโนเวลส์ และหม่อมรัดเลย์)

กงศุลฝรั่งเศสที่ไทยช่วยชีวิตไว้ แต่มาภายหลังเขาเป็นตัวการทำให้ไทยเสียดินแดนคือ (ม. ปาวี)

ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนรัชกาลที่ 5 สมัยยังทรงพระเยาว์อยู่ (สมเด็จเจัาพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ช่วง บุนนาค)

ทูตอังกฤษเข้ามาทำสัญญาในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระสยามนุกูลกิจสยามมิตรมหายศคือ
(เชอร์จอห์น บาวริ่ง)

วัดที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 (วัดราชประดิษฐ์,วัดมกุฎกษัตริยาราม,วัดโสมนัสวรวิหาร,วัดปทุมวนาราม)

วัดที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 (วัดเบญจมบพิตร,วัดเทพศิรินทราวาส,วัดราชบพิธ และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ)

กัปตันเฮนรี ชาวอเมริกันนำอาวุธปืนเข้ามาขายและนำมาถวายรัชกาลที่ 2 ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น (หลวงภักดีราช)

ผู้ส่งจอห์น ครอเฟิด เข้ามาทำไมตรีเจรจาการค้ากับไทยคือ (มาควิส เฮสติง)

พระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยคือ (ฉิม)

วัดที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ (วัดสุทัศน์เทพวราราม)

สมัยที่วรรณคดีรุ่งเรืองที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์คือ (สมัยรัชกาลที่ 2)

กวีที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ (สุนทรภู่, พระยาพระคลัง, นายนรินทร์: นายนรินทร์ธิเบศร์)

วรรณคดีที่สำคัญในรัชกาลที่ 2 (อิเหนา, รามเกียรติ, ไชยเชษฐ์: มณีพิชัยคาวี, สังข์ทอง)

พระพุทธรูปที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นพระพุทธรูปใช้ในพิธีมงคลมีชื่อว่า (พระคันธารราฐ)

ภายหลังสงครามอะไรที่เกิดวีรสตรี 2 ท่าน คือ ท้าวเทพสตรีและท้าวศรีสุนทร (ภายหลังสงครามเก้าทัพในสมัยรัชกาลที่ 1)

ชาวพัทลุงคนที่ชักชวนให้ชาวเมืองสู้ศึกเก้าทัพคือ (พระมหาบุญช่วย ภายหลังได้บรรดาศักดิ์เป็นพระยาช่วยทุกข์ราษฎร์)

โรคห่าระบาด เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ต้องแก้ไขด้วยวิธี (ทำพิธีอาพาธพินาศ โดยยิงปืนรอบพระนครตลอดรุ่ง
อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุออกแก่ มีพระสงฆ์ประพรมน้ำพระปริต)

วัดที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 (วัดราชนัดดา, วัดเทพธิดา)

ผู้คิดประดิษฐ์แท่นพิมพ์ และหล่อตัวพิมพ์อักษรไทยได้สำเร็จคือ (ร.อ.เจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษ)

รัชกาลที่ 3 ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา ได้มีการประชุมนักปราชญ์จารึกตำราไว้ ณ (ตามศาลารอบ ๆ วัดพระเชตุพน
(วัดโพธิ์))

วีรสตรีไทยที่สู้รบกับเจ้าอนุวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ (คุณหญิงโม ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นท้าวสุรนารี)

ผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ แต่งตั้งใครเข้ามาทำไมตรีทางการค้าในสมัยรัชกาลที่ 3 (นายเฮนรี เบอร์นี)

ผู้แทนอังกฤษมาขอแก้ไขสัญญาเบอร์นี ในสมัยปลายรัชกาลที่ 3 และไม่เป็นที่ตกลงกันคือ (เชอร์เจมส์บรุ๊ค)

มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน นำการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษมาใช้ในเมืองไทยคือ (หมอบรัดเลย์)

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า (พระองค์เจ้าชายทับ)

โรงพิมพ์แห่งแรกเราตั้งขึ้นที่ (วัดบวรนิเวศน์วรวิหาร)

รัชกาลที่ 3 อัญเชิญพระอัฏฐารส พระยืนองค์ใหญ่มาจากพิษณุโลก ได้ประดิษฐานไว้ที่วัด (วัดสระเกศ)

ภูเขาทองเริ่มสร้างในสมัยใด และสำเร็จในรัชกาลใด (เริ่มสร้างรัชกาลที่ 3 แต่เสร็จในรัชกาลที่ 4)

รัชกาลที่ทรงโปรดให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้าคือ (รัชกาลที่ 4)

กรมไปรษณีย์โทรเลขมีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาล (รัชกาลที่ 5)

ผู้คิดธงช้างชาติไทย และเป็นผู้เปลี่ยนมาเป็นธงไตรรงศ์ (รัชกาลที่ 2 เป็นผู้ทรงนำธงช้างมาใช้เป็นธงชาติ
และรัชกาลที่ 6 เปลี่ยนมาเป็นไตรรงศ์)

พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์เกิดขึ้นในสมัย (รัชกาลที่ 6)

พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารเกิดขึ้นในสมัย (รัชกาลที่ 5)

ธนบัตรมีขึ้นครั้งแรกในสมัย (รัชกาลที่ 4)

เมล์อากาศมีขึ้นในสมัย (รัชกาลที่ 6)

ไทยร่วมสงครามโลกครั้งที่สองในสมัย (รัชกาลที่ 6)

ประธานาธิบดีแจ็คสันแห่งสหรัฐอเมริกา ส่งใครมาทำไมตรีทางการค้ากับไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 และภายหลังส่งใครมา
แก้สัญญา (เอ็ดมันต์ โรเบิ์รต มาทำสัญญา และส่งโจเซฟ แบลเลสติเอร์ มาขอแก้สัญญา)

กษัตริย์ที่ทรงผนวชก่อนขึ้นครองราชย์ และได้ทรงตั้งนิกายทางศาสนาขึ้นคือ และชื่อนิกายคือ (รัชกาลที่ 4
ชื่อนิกายธรรมยุติกนิกาย ตั้งเป็นครั้งแรกที่วัดราชาธิวาส)

สัญญาที่กำหนดให้ไทยเก็บภาษีเข้าออกได้ไม่เกินร้อยละ 3 และคนในบังคับอังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย ให้ขึ้นศาลกงสุลอังกฤษ
ชื่อ (สัญญาบาวริ่ง)

ธนาคารออมสิน ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัย (รัชกาลที่ 6)

หลักฐานที่ยืนยันว่า รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นนักดาราศาสตร์องค์แรกของไทยคือ (คำนวณสุริยุปราคาว่าจะเกิดที่ตำบลหว้ากอ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ถูกต้อง)

พระบรมโอรสาธิราชมกุฎราชกุมารองค์แรกคือ (เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ)

พระบรมโอรสาธิราชมกุฎราชกุมารองค์ปัจจุบันคือ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์สยามมกุฎราชกุมาร
ทรงสถาปนาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515)

นายประตูวิหารวัดสุทัศน์เป็นฝีพระหัตถ์ของ (รัชกาลที่ 2)

วัดที่มีโลหะปราสาททำด้วยศิลาแดง คือ (วัดราชนัดดา)

วัดที่ทรงสร้างในสมัยรัชกาลที่ 8 คือ (วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน)

ปัจจุบันพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ที่ (วัดบวรนิเวศน์วิหาร)

ปัจจุบันพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ที่ (พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ)

กองทหารที่รัชกาลที่ 2 ตั้งขึ้นแบบทหารชีปายอังกฤษ ชื่อว่า (กองทหารสีปาย)

รัชกาลที่ 5 ทรงตั้งโรงพยาบาลแห่งแรกชื่ออะไร และปัจจุบันคือ (โรงพยาบาลวังหลัง ในปัจจุบัน คือ ศิริราชพยาบาล)

กฎหมายตรา 3 ดวง เกิดขึ้นในสมัยใด มีตราอะไร (สมัยรัชกาลที่ 1 มีตราราชสีห์ ตราคชสีห์ และตราบัวแก้ว)

คลองที่โปรดให้ขุดในรัชกาลที่ 1 คือ (คลองมหานาค)

ในรัชกาลที่ 4 โปรดให้ใครเป็นฑูตนำพระราชสาส์น ไปเจริญพระราชไมตรีกับอังกฤษ และผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามคือใคร
(เชอร์จอห์น บาวริง)

ครูสอนภาษาอังกฤษแก่รัชกาลที่ 4 คือ และเป็นชาว (มิชชันนารี แคสเวล ชาวอเมริกัน)

พระมหาศรีโพธิ์คือ (ต้นโพธิ์ที่รัชกาลที่ 2 ทรงนำมาจากพุทธคยา เมืองลังกา)

รัชกาลที่เปลี่ยนให้ใช้รัตนโกสินทร์ศก แทนจุลศักราช (รัชกาลที่ 5)

รัชกาลที่เปลี่ยนให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) (รัชกาลที่ 6)

พระพุทธชินราชจำลองประดิษฐานอยู่ที่ (วัดเบญจมบพิตร)

รัชกาลที่ตราพระราชบัญญัตินามสกุลคือ (รัชกาลที่ 6)

สหกรณ์ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ 6 ที่จังหวัดใด (พิษณุโลก)

ผู้ที่ริเริ่มการประปา และเสือป่า คือ (รัชกาลที่ 6)

ผู้แต่งนิราศท่าดินแดงคือ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)

กษัตริย์ไทยองค์ใดที่ทรงผนวช ขณะครองราชย์เป็นพระองค์แรก (พระเจ้าลิไท สมัยกรุงสุโขทัย)

ผู้สถาปนาวันที่ 6 เมษายน เป็นวันมหาจักรีคือ (รัชกาลที่ 6)

กษัตริย์ไทยที่ทรงเลิกประเพณีบังคับให้ราษฎรปิดประตูหน้าต่างเมื่อเสด็จผ่านคือ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ถนนที่สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ถนนราชดำเนิน, ถนนเยาวราช)

กษัตริย์พม่า สมัยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาคือ (พระเจ้านันทบุเรง)

วัดนพพาราม ซึ่งเป็นประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกในรัชกาลที่ 1 คือ วัดใดในปัจจุบัน (วัดมหาธาตุ)

ความงดงามที่ทำให้บานประตูพระวิหารศรีศากยมุนีเป็นศิลปอันล้ำค่าของชาติคือ (การแกะสลักไม้)

ฝรั่งชาติที่นำวิธีทำขนมทองหยิบ ฝอยทอง เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทยเป็นครั้งแรกคือ (โปรตุเกส)

เจ้าฟ้าชายมงกุฎ หมายถึง (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

หนังสือที่เก่าแก่ที่สุด (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช)

เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ หมายถึง (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

เจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ หมายถึง (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

พระองค์ดำ และพระองค์ขาวในประวัติศาสตร์ หมายถึง (พระองค์ดำ หรือ พระนเรศวรมหาราช
พระองค์ขาว คือ พระเอกาทศรถ)

ฝรั่งชาติที่เข้ามาติดต่อกับไทยเป็นชาติแรก (โปรตุเกสในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา)

ไทยส่งฑูตไปเจริญไมตรีกับฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก เมื่อ (สมัยแผ่นดินพระนารายณ์มหาราช)

สมุหพระกลาโหม สมัยรัตนโกสินทร์ใช้ตราอะไร เป็นตราเจ้าตำแหน่ง (ราชสีห์)

ที่ชาวบ้านสมัยก่อนเรียกกันว่า “ทุ่งพระเมรุ” คือบริเวณใดในปัจจุบัน (สนามหลวง)

ผู้ริเริ่มพิธีลอยกระทงเป็นครั้งแรก (นางเรวดี นพมาศ ในสมัยกรุงสุโขทัย)

“ตีกลองร้องฎีกา” เริ่มมีมาตั้งแต่สมัย (สมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช)

ผู้สร้างปราสาทเทพบิดรคือ (รัชกาลที่ 4)

พระแท่นมนังศิลา เดิมอยู่ที่ใด และปัจจุบันอยู่ที่ใด (พระเจ้ารามคำแหงสร้างขึ้นที่กลางดงตาลกรุงสุโขทัยปัจจุบันอยู่ที่
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)

ตำรวจนครบาลมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ (รัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์)

รถไฟมีครั้งแรกในเมืองสมัย (รัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์)

กษัตริย์พระองค์ที่ทรงวางระเบียบให้ยืนเฝ้า และนั่งเฝ้าโดยไม่ต้องหมอบคลาน (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ตราขึ้นในสมัย (รัชกาลที่ 7 กรุงรัตนโกสินทร์)

พระบรมรูปทรงม้า สร้างในรัชกาล (รัชกาลที่ 5)

พระมหาปราสาทองค์แรกที่สร้างในพระบรมราชวัง ได้แก่ พระที่นั่งองค์ (ดุสิตมหาปราสาท)

กฎหมายที่ใช้เป็นหลักในการปกครองของไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5 (ตราสามดวง)

เมืองเอกซึ่งเคยเป็นเมืองหน้าศึก และคอยควบคุมข้างเมืองปักษ์ใต้ของไทยในสมัยก่อนคือ เมือง (นครศรีธรรมราช)

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจัดสำหรับประชาชนสมัย (รัชกาลที่ 8)

กษัตริย์ไทยที่เสด็จไปศึกษาวิชาการทหาร ที่ประเทศอังกฤษคือ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

หมวกที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสำหรับทำยุทธหัตถีกับมหาอุปราชา ชื่อ (พระมาลาเบี่ยง)

พระแสงดาบดาบค่าย มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์คือ (พระแสงดาบที่สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระโอษฐ์คาบ
ขณะทรงปืนค่ายข้าศึก)

ประเทศไทยประกาศใช้รัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อ (27 ธันวาคม 2475)

ผู้กู้เอกราชจากพม่าเมื่อคราวเสียกรุงแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2112 (สมเด็จพระนเรศวรมหาราช)

ผู้กู้เอกราชจากพม่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 (พระเจ้าตากสิน)

ภาพรามเกียรติ์ที่ระเบียงผนังวัดพระศรีรัตนศาสดารามสร้างในสมัย (รัชกาลที่ 3)

สมเด็จพระบรมฯ เป็นพระนามที่คนในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้ขนานนามเจ้านายพระองค์ (รัชกาลที่ 3)

สมเด็จพระบรมฯ เป็นพระนามที่คนในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้ขนานนามเจ้านายพระองค์ (สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรรหิศ)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ประสูติที่ (โรงพยาบาลเมานท์ออร์เบิร์น รัฐแมสชาจูเลต สหรัฐอเมริกา)

นามพระมหากษัตริย์ไทยราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เรียงตามลำดับครองราชย์
1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสวยราชย์ พ.ศ. 2325-2452
2. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสวยราชย์ พ.ศ. 2553-2367
3. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชย์ พ.ศ. 2367-2394
4. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชย์ พ.ศ. 2394-2411
5. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชย์ พ.ศ. 2411-2453
6. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชย์ พ.ศ. 2453-2468
7. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชย์ พ.ศ. 2468-2477
8. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสวยราชย์ พ.ศ. 2477-2489
9. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสวยราชย์ พ.ศ. 2489- ปัจจุบัน

มหาราชของไทยมีทั้งหมด 7 พระองค์ คือ
1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
3. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
4. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
5. สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
6. สมเด็จพระปิยมหาราช
7. สมเด็จพระภัทรมหาราช

สยามมกุฎราชกุมารในราชวงศ์จักรีมีทั้งหมด 3 พระองค์ คือ
1. เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
2. เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (รัชกาลที่ 8)
3. เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย

สมัยอาณาจักรน่านเจ้า


พระเจ้าเหม่งแซเจ้า
พระเจ้ามองกาตา
พระเจ้าสินุโล (โอรสพระเจ้ามองกาตา)
พระเจ้าพีล่อโก๊ะ (ขุนบรม)
พระเจ้าโก๊ะล่อฝง (โอรสพระเจ้าพีล่อโก๊ะ)
สมัยกรุงสุโขทัย

ราชวงศ์พระร่วง


พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ.ศ. 1781 - ไม่ทราบแน่นอน
พ่อขุนบาลเมือง
พ.ศ. ไม่ทราบแน่นอน - 1820
พ่อขุนรามคำแหง
พ.ศ. 1820- 1860 (40 ปี)
พญาเลอไท
พ.ศ. 1861-1897 (36 ปี)
พญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ 1)
พ.ศ. 1897-1919 (22ปี)
พญาไสลือไท (พระมหาธรรมราชาที่ 2)
พ.ศ. 1919- 1920 (1ปี)
พระมหาธรรมราชาที่ 3
(ไม่ทราบระยะเวลาแน่ชัด)
พระมหาธรรมราชาที่ 4
(ไม่ทราบระยะเวลาแน่ชัด)
สมัยกรุงศรีอยุธยา

ราชวงศ์อู่ทอง (หรือราชวงศ์เชียงราย)


สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
พ.ศ. 1893-1912 (19 ปี)
สมเด็จพระราเมศวร
ครองราชย์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 1912-1913 (1 ปี)
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พะงั่ว)
พ.ศ. 1913-1931 (18 ปี)
พระเจ้าทองลั่น
พ.ศ. 1931 (ครองราชย์เพียง 7 วันก็ถูกปลงพระชนม์)
ราชวงศ์อู่ทอง (หรือราชวงศ์เชียงราย)

สมเด็จพระราเมศวร
ครองราชย์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 1931-1938 (7 ปี)
สมเด็จพระรามราชาธิราช (โอรสสมเด็จพระราเมศวร)
พ.ศ. 1938 – 1962 (14 ปี – ถูกถอดจากราชสมบัติ)
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระนครอินทราธิราช (พระอินทราชา)
พ.ศ. 1952 –1967 (15ปี)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)
พ.ศ. 1967 –19991 (24ปี)
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พ.ศ. 1991 –2031 (40ปี)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ)
พ.ศ. 2031 –2034 (3ปี)
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช)
พ.ศ. 2034 –2072 (38ปี)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธธางกูร)
พ.ศ. 2072 –2076 (4ปี)
สมเด็จพระรัษฏาธิราชกุมาร
พ.ศ. 2076 (ครองราชย์ 5 เดือน ก็ถูกปลงพระชนม์)
สมเด็จพระไชยราชาธิราช
พ.ศ. 2077 –2089 (12ปี)
สมเด็จพระยอดฟ้า (โอรสพระไชยราชาธิราช)
พ.ศ. 2089 –2091 (2ปี – ถูกปลงพระชนม์)
ขุนวรวงษาธิราช
พ.ศ. 2091 (ครองราชย์ 42 วัน – ถูกปลงพระชนม์)
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเจ้าช้างเผือก)
พ.ศ. 2091 –2111 (20 ปี)
สมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสพระมหาจักรพรรดิ)
พ.ศ. 2111 – 2112 (1ปี)
ราชวงศ์สุโขทัย

สมเด็จพระมหาธรรมราชา
พ.ศ. 2112-2133 (21 ปี)
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โอรสพระมหาธรรมราชา)
พ.ศ. 2133-2148 (15 ปี)
สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระอนุชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
พ.ศ. 2148-2153 ( 15 ปี)
พระศรีเสาวมาตย์ (โอรสพระเอกาทศรถ)
พ.ศ. 2153 (ครองราชย์ไม่ถึงปี – ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์)
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (โอรสพระเอกาทศรถต่างพระมารดาพระศรีเสาวภาคย์)
พ.ศ. 2153-2171 (18 ปี)
สมเด็จพระเชษฐาธิราช (โอรสพระเจ้าทรงธรรม)
พ.ศ. 2171-2172 (ครองราชย์ 1 ปี - ถูกปลงพระชนม์)
สมเด็จพระอาทิตย์วงศ์
พ.ศ. 2172 (ครองราชย์ 28 วัน – ถูกถอดจากราชสมบัติ, ปลงพระชนม์)
ราชวงศ์ปราสาททอง


สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
พ.ศ. 2172-2199 (27 ปี)
สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (โอรสพระเจ้าปราสาททอง)
พ.ศ. 2199 (ครองราชย์ 4 วัน – ถูกปลงพระชนม์)
สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
พ.ศ. 2199 (ครองราชย์ 2 เดือน – ถูกปลงพระชนม์)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พ.ศ. 2199-2231 (32 ปี)
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง


สมเด็จพระเพทราชา
พ.ศ. 2231 –2246 (15ปี)
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
พ.ศ. 2246 –2251 (5ปี)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (โอรสพระเจ้าเสือ
พ.ศ. 2251 –2276 (24ปี)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์
พ.ศ. 2276 –2301 (26ปี)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)
พ.ศ. 2301 (ครองราชย์ 2 เดือน – สละราชสมบัติออกผนวช)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์)
พ.ศ. 2301-2310 (9 ปี)
ช่วงปี 2310-2313 ไม่มีพระเจ้าแผ่นดิน เนื่องจากเป็นช่วงเสียกรุงแก่พม่า

สมัยกรุงธนบุรี


สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พระเจ้ากรุงธนบุรี)
พ.ศ. 2313-2325 (12 ปี)
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ราชวงศ์จักรี


สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ทองด้วง)
พ.ศ. 2325-2352 (27ปี)
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (เจ้าฟ้าฉิม)
พ.ศ. 2352-2367 (15 ปี)
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
พ.ศ. 2367-2394 (27ปี)
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
พ.ศ. 2394- 2411 (17 ปี)
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
พ.ศ. 2411-2453 (42 ปี)
สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
พ.ศ. 2453-2468 (15 ปี)
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
พ.ศ. 2468-2477 (9 ปี)
สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (โอรสสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์)
พ.ศ. 2477-2489 (12 ปี)
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (โอรสสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์)
พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน

Google